
เมื่อต่อเชื่อมเครื่องพิมพ์เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้วให้ทำการติดตั้ง ไดรเวอร์ที่บริษัทให้มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ซึ่ง อาจจะเป็น แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์ โดยการใส่แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์เข้าไป ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะทำงานโดยอัตโนมัติ (Autorun) แล้วทำการติดตั้งตาม เมนูที่ปรากฏบนจอภาพ

ประเภทของเครื่องพิมพ์1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกลงไปบนผ้าหมึกเพื่อให้หมึกที่ จะพิมพ์ตัวอักษรไปปรากฏบนกระดาษพิมพ์ เวลาพิมพ์จะมีเสียงดังมาก ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาแพงส่วนผ้าหมึกจะมีราคาถูก ปัจจุบันใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการสำเนาหลายชุด เช่นใบสั่งซื้อ บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ เป็นต้น

หัวพิมพ์จะประกอบด้วยเข็มโลหะเล่มเล็ก ๆ วางเรียงกันเป็นแถวจำนวน 9 เข็มหรือ 24 เข็มเข็มแต่ละเล่มจะรับสัญญาณ ควบคุมให้พุ่งผ่านผ้าหมึก (Ribon) ไปตกกระทบบนกระดาษซึ่งมีล้อยางรองรับอยู่ด้านหลังให้เรียงจุดเป็นตัวอักษรหรือภาพ โดยล้อยางจะทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษให้เลื่อนบรรทัดในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงสามารถเคลื่อนหัวพิมพ์ได้สองทิศทาง มีทั้งขนาดแคร่สั้นและแคร่ยาว สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ ถ้าเป็นการพิมพ์ประเภทสีจะใช้หลักการเคลื่อนผ้าหมึกสี (น้ำเงิน เขียว แดง ดำ) ผสมสีกัน
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการพ่นหมึกออกมาบนกระดาษพิมพ์โดยมีหัวพิมพ์เคลื่อน ที่บนแกนโลหะ การทำงานของหัวพิมพ์ใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำหมึกเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ จากกลักน้ำหมึกให้เป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ แทนลงบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นขนาดA4(8.27 X 11.69 นิ้ว) หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที การพิมพ์สีจะใช้หลักการพ่นหมึก3 สีคือ น้ำเงิน แดง และเหลือง ผสมกัน

ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือ มีความเร็วในการพิมพ์สูงกว่าแบบดอตเมตริก สามารถพิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ แต่มีข้อเสียคือความคมชัดน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนาหลายชั้นเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกได้ ไม่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษผิวมันและลื่นได้ เพราะหมึกอาจเลอะเปื้อนกระดาษหมึกของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีราคาแพงมาก แต่ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาถูก หมึกของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะเก็บอยู่ในตลับหมึก เมื่อหมึกหมดก็เพียงแต่เปลี่ยนตลับหมึกอันใหม่ก็ใช้งานได้ทันที นอกจากการเปลี่ยนตลับหมึกแล้วยังสามารถเติมหมึกเองก็ได้สำหรับเครื่องบางยี่ห้อ
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีคุณภาพในการพิมพ์สูงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการความเร็วและตัวอักษรคมชัด มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยจะทำการแปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสแล้วใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงเป็นรูปภาพต้นแบบลงบนแท่นพิมพ์ที่เป็นล้อยาง (Drum) แล้วทำการใช้ความร้อนดูดผงหมึกจากกลัก (Toner) เข้ามาติดกับล้อยางตามแบบพิมพ์ จากนั้นกระดาษจะถูกรีดด้วยล้อยาง ผ่านแม่พิมพ์ที่มีผงหมึกติดอยู่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว (Dot Per Inch : DPI) ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษขนาด A4 หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที

ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คือ มีความเร็วในการพิมพ์สูง พิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพและความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกและเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษหลายชั้นที่ต้องการสำเนาได้ กลักผงหมึกมีราคาแพงมาก กระดาษที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี การบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยากเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริก ปัจจุบันมีบางบริษัทนำเอาตลับหมึกใช้แล้วมาผลิตใช้ ใหม่อีกครั้งแล้วขายในราคาถูก ตลับหมึกประเภทนี้ควรจะระมัดระวังในการซื้อใช้ เพราะจุดนี้อาจจะเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิต เครื่องพิมพ์ยกเลิกสัญญารับประกัน
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพลอตเตอร์ พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อวาดภาพ กราฟ วงจรลวดลายต่าง ๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ ๆ เหมาะกับงานด้านวาดภาพกราฟิก งานด้านการออกแบบที่ต้องการคุณภาพสูง

หลักการทำงาน พลอตเตอร์ประกอบด้วยปากการหมึกหลายสี จำนวน 1 - 6 แท่ง เคลื่อนที่บนแกนโลหะ ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ทำการวาดจุดเล็ก ๆ ให้เป็นเส้น ลวดลายหรือภาพลงบนกระดาษขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. Flatbed Plotter เป็นพลอตเตอร์ประเภทที่ใส่กระดาษวางไว้อยู่กับที่ แต่ส่วนเคลื่อนที่คือปากกา ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาบนแกนโลหะเพื่อวาดลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง

2. Drum Plotter เป็นเครื่องพลอตเตอร์ที่มีล้อยางด้านล่าง ทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษ ส่วนปากกาและหมึกจะอยู่ด้านบน เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายและขวาเพื่อวาดรูปหรือวงจรตามต้องการ

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากการ์ดเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่มา พร้อมกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นลำโพงขนาดเล็กที่มีคุณภาพไม่ดีนัก แต่เราสามารถหาซื้อลำโพง คุณภาพสูงมาเปลี่ยนได้เพื่อจะได้ฟังเพลงหรือเล่นเกมได้อรรถรสมากขึ้น

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์ สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านภาพ และข้อความจากกระดาษ แล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำสายสแกนเนอร์ต่อเข้ากับพอร์ตขนานหรือพอร์ต USBของคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ

สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มักจะเป็นสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ ( Flatbed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้ สามารถสแกนภาพบนกระดาษได้ครั้งละ 1 แผ่น โดยส่วนใหญ่สแกนเนอร์แบบนี้จะสแกนขนาดกระดาษได้กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว แต่สแกนเนอร์บางตัวอาจจะสแกนได้กว้างตั้งแต่8.5 นิ้วและยาวได้ถึง 14 นิ้ว เป็นสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก

เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode Reader) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดไว้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า ณ จุดซื้อขาย (Point Of Sales Terminals) ของธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือการบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้องการ ความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข

BarCodes Reader ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก หลักการทำงานจะใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้ มีขนาด หนาบางแตกต่างกัน ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำรหัสข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูล ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) แล้วนำข้อมูลไปแปลงเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยที่การทำงานของBarCode Reader นั้นจะต้อง มีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย



ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์คือสื่อบันทึกข้อมูล ที่มีความจุสูงและถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภายในฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางเรียงซ้อนกันบนแกนตั้ง มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง แต่ละแผ่นจะมีหัวอ่านเขียน ยึดติดกับก้านหัวอ่าน (Access Arm) ทำหน้าที่เขียนอ่านในแต่ละด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นมีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์เก็ต คือแบ่งเป็น แทร็กและเซ็กเตอร์ แต่ละแทร็ก ที่อยู่ในตำแหน่งตรงกันของทุกแผ่นเราเรียกว่า Cylinder ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งแบบ Sequential Access และ แบบRandom Access

การวัดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ จะพิจารณาจากเวลาเข้าถึงข้อมูล (Access Time) คือเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล จนได้ปริมาณข้อมูลตามที่ต้องการ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้คือ
- Seek Time คือเวลาที่หัวอ่านใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง Track ที่ต้องการ ถ้าใช้เวลาน้อย แสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงมาก
- Rotational Delay Time คือเวลาที่รอให้แผ่นดิสก์หมุนเคลื่อนที่ Sector ที่ต้องการมาตรงกับตำแหน่งของหัวอ่านเขียน ถ้าใช้เวลารอน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก
- Data Tranfer Time คือเวลาที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลจากเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์เข้าสู่หน่วยความจำ ยิ่งใช้เวลาน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการโอนถ่ายข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา (Tranfer Rate)

ดิสก์เกต
ดิสก์เกต (Diskette) หรือแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ คือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเนื้อแผ่นกลมบางทำมาจากพลาสติกไมล่าร์ หมุนอยู่ในพลาสติกห่อหุ้ม (Jacket) อีกชั้นหนึ่ง รหัสข้อมูล0 , 1 สร้างเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าบนออกไซด์ของโลหะที่ฉาบไว้ บนแผ่นพลาสติกไมล่าร์ ต้องใช้ร่วมกับเครื่องขับแผ่นดิสก์ สามารถบันทึกและแสดงผลข้อมูลได้

- metal shutter คือ แผ่นโลหะสำหรับเลื่อนเปิดปิดเพื่ออ่านเขียนข้อมูลภายในดิสก์
- data access area คือพื้นที่สำหรับอ่านเขียนข้อมูล
- hard plastic jacket คือพลาสติกแข็งห่อหุ้มแผ่นดิสก์ที่อยู่ภายใน
- label คือพื้นที่สำหรับติดแผ่นฉลากเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นแผ่นที่เก็บข้อมูลอะไร
- hub คือบริเวณหรือตำแหน่งที่เกี่ยวแผ่นดิสก์เมื่อใส่เข้าไปยังเครื่องขับดิสก์
- write-protect notch ตำแหน่งป้องกันการเขียนทับ สามารถเลื่อนเพื่อให้เขียนทับ
หรือไม่ก็ได้ บริเวณดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์แสดงว่าปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด

โครงสร้างของเนื้อแผ่นดิสก์ มีการแบ่งโครงสร้างในการบันทึกข้อมูลเป็นวงกลมหลาย ๆ วงบนแผ่นดิสก์ เรียกว่า Track แต่ละ Track จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า Sector ในแต่ละSector สามารถบรรจุข้อมูลได้ 512 Byte และสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง( 2 sides)แผ่นดิสก์แต่ละประเภทมีโครงสร้างจำนวน Track และจำนวน Sector ในแต่ละ Track ต่างกัน ทำให้แผ่นดิสก์มีขนาดความจุต่างกันด้วย

แผ่นดิสก์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MB แบบ Double Side High Density แบ่งเป็นวงกลมได้ทั้งหมด 80 วง (คือ 80 Track) ภายใน 1 Track แบ่งออกเป็น 18 Sector แต่ละ Sector เก็บข้อมูลได้ 512 Byte จำนวน 2 หน้า เพราะฉะนั้นแผ่นดิสก์ 1 แผ่นจึงมีความจุเท่ากับ 1,474,560 Byte (80 X 18 X 512 X 2 ) หรือมีค่าเท่ากับ 1,440 KB (1,024 Byte = 1 KB)หรือมีค่าประมาณ 1.44 MB (1,024 KB = 1 MB)
อดีของแผ่นดิสก์คือง่ายและสะดวกในการพกพา สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การอ่านเขียนข้อมูลทำได้ทั้งแบบลำดับ (Sequential) และแบบสุ่ม (Random) ราคาถูก ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์แบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง ความจุน้อย อายุการใช้งานน้อย ถ้าหักงอ โดนความร้อน โดนสนามแม่เหล็ก โดนน้ำ จะทำให้แผ่นดิสก์เสียหายและใช้งานไม่ได้
ซีดีรอม
ซีดีรอม (Compact Disk-Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่น ทำให้เกิดหลุมรหัสเป็น 0 และ 1 การอ่านข้อมูลก็ใช้แสงเลเซอร์กวาดไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้

แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเหมือนแผ่นซีดีเพลงทั่วไป มีความจุประมาณ 600 - 700 MB แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต มีความยาวของการบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 74 นาที อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมได้อย่างเดียวผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือบันทึก ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ประโยชน์ของซีดีรอมคือ ใช้ในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ หรือ ข้อมูลที่มีขนาดความจุมากพอสมควรเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแผ่นดิสก์ การนำแผ่นซีดีรอมไปใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อ่าน ข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมไดร์ฟ มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access ความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะใช้หน่วยวัดเป็น จำนวนเท่า ของความเร็วการอ่านข้อมูลที่ 150Kb ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก ๆ โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร “X” ต่อท้ายเพื่อบอกจำนวนเท่า สำหรับซีดีรอมที่จำหน่ายในปัจจุบันมีความเร็วอย่างน้อย 50 X

ซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า WORM (Write Once Read Many ) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีรอมทั่วไป แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น WORM ได้ 1 ครั้ง โดยใช้ซีดีรอมไดร์ฟชนิดบันทึกได้ที่เรียกว่า CD-ROM Recordable แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้กี่ครั้งก็ได้ มีความจุประมาณ 650 MB มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access มีราคาแพงกว่าแผ่นซีดีรอมทั่วไป

แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Erasable Optical Disks มีลักษณะแนวคิดในการเขียนอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่ใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน การใช้งานต้องใช้งานร่วมกับ Optical Disk Drive หรือที่เรียกว่า MO (Magneto-optical) หรือที่เรียกว่า CD-Writer ปัจจุบันนิยมซื้อหามาใช้กันมากเพราะมีราคาถูก และใช้งานแทนซีดีรอมทั่วไปได้ เพราะสามารถอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอมได้ มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป

ดีวีดีรอม
ดีวีดีรอม (DVD-ROM) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม โครงสร้างของแผ่นเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic ดีวีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4.7 GB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บภาพยนตร์หรือไฟล์มัลติมีเดีย จำนวนมาก ภาพและเสียงของดีวีดีรอมจะมีความคมชัดมากกว่าซีดีรอม แต่แผ่นดีวีดีรอมจะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ ดีวีดีรอมไดร์ฟ อุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นได้ทุกประเภท

แฮนดี้ไดร์ฟ
แฮนดี้ไดร์ฟ (Handy Drive) หรือทัมพ์ไดร์ฟ (Thum Drive) คือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน ได้รับความนิยมใช้กันมาก สื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับแผ่นดิสก์ และฮาร์ดดิสก์ แต่มีข้อดีตรงที่ว่าพกพาได้สะดวกขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์ มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า เช่น 128 , 256 , 512 MB , 1 GB , 2 GB พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้คือพอร์ต USB (Universal Serial Bus)




ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น